วันอังคารที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2555

ASEAN

 ภาพเคลื่อนไหว กำเนิดอาเซียน ภาพเคลื่อนไหว

อาเซียน หรือ สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (Association of South East Asian Nations หรือ ASEAN) ก่อตั้งขึ้นโดยปฏิญญากรุงเทพ (The Bangkok Declaration) เมื่อวันที่ 8 สิงหาคม 2510 โดยสมาชิกผู้ก่อตั้งมี 5 ประเทศ ได้แก่ อินโดนิเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ และไทย ซึ่งผู้แทนทั้ง  5 ประเทศ ประกอบด้วย นายอาดัม  มาลิก (รัฐมนตรีต่างประเทศอินโดนีเซีย) ตุน อับดุล ราชัก บิน ฮุสเซน (รองนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรีกลาโหมและรัฐมนตรีกระทรวงพัฒนาการแห่งชาติมาเลเซีย) นายนาซิโซ  รามอส (รัฐมนตรีต่างประเทศฟิลิปปินส์)  นายเอส  ราชารัตนัม (รัฐมนตรีต่างประเทศสิงค์โปร์ และพันเอก (พิเศษ) ถนัด คอมันตร์ (รัฐมนตรีต่างประเทศไทย) ในเวลาต่อมาได้มีประเทศต่างๆ เข้าเป็นสมาชิกเพิ่มเติม ได้แก่ บรูไนดารุสซาลาม (เป็นสมาชิกเมื่อ 8 ม.ค. 2527) เวียดนาม (วันที่ 28 ก.ค. 2538)  ลาว พม่า (วันที่ 23 ก.ค. 2540) และ กัมพูชา (วันที่ 30 เม.ย. 2542) ตามลำดับ จากการรับกัมพูชาเข้าเป็นสมาชิก ทำให้อาเซียนมีสมาชิกครบ 10 ประเทศในเอเซียตะวันออกเฉียงใต้


10 ประเทศอาเซียน  ได้เเก่



บรูไนดารุสซาลามBrunei Darussalam





ราชอาณาจักรกัมพูชา
Kingdom of Cambodia





สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวThe Lao People's Democratic Republic




มาเลเซียMalaysia




สหภาพพม่าUnion of Myanmar




สาธารณรัฐฟิลิปปินส์Republic of the Philippines




สาธารณรัฐสิงคโปร์Republic of Singapore



สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนามSocialist Republic of Vietnam



ประเทศไทยThailand




สาธารณรัฐอินโดนีเซียRepublic of Indonesia


ภาพเคลื่อนไหว


ภาพเคลื่อนไหววัตถุประสงค์หลักของการก่อตั้งอาเซียนภาพเคลื่อนไหว
เพื่อส่งเสริมความร่วมมือและความช่วยเหลือทางเศรษฐกิจสังคม วัฒนธรรม เทคโนโลยี และการบริหาร ส่งเสริมสันติภาพและความมั่นคงของภูมิภาค ส่งเสริมความร่วมมือระหว่างอาเซียนกับต่างประเทศและองค์กรระหว่างประเทศ สัญลักษณ์ของอาเซียน  คือ รูปรวงข้าว สีเหลืองบนพื้นสีแดงล้อมรอบด้วยวงกลมสีขาวและสีน้ำเงิน รวงข้าว 10 ต้น หมายถึง ประเทศสมาชิก 10 ประเทศ สีเหลืองหมายถึง ความเจริญรุ่งเรือง สีแดง หมายถึง ความกล้าหาญและการมีพลวัติ สีขาว หมายถึง ความบริสุทธิ์ และสีน้ำเงิน หมายถึง สันติภาพและความมั่นคง
ภาพเคลื่อนไหวโครงสร้างและกลไกการดำเนินงานภาพเคลื่อนไหว

นโยบายการดำเนินงานของอาเซียนจะเป็นผลจากการประชุมหารือในระดับหัวหน้ารัฐบาล ระดับรัฐมนตรี และเจ้าหน้าที่อาวุโสอาเซียน การประชุมสุดยอดเป็นการประชุมในระดับสูงสุดเพื่อกำหนดแนวนโยบายในภาพรวมและเป็นโอกาสที่ประเทศสมาชิกจะได้ร่วมกันประกาศเป้าหมายและแผนงานของอาเซียนในระยะยาว โดยการจัดทำเอกสารในรูปแบบของแผนปฏิบัติการ (Action Plan) แถลงการณ์ร่วม (Joint Declaration) ปฏิญญา (Declaration) ความตกลง (Agreement) หรืออนุสัญญา (Convention) เช่น Hanoi Declaration, Hanoi Plan of Action และ ASEAN Convention on Counter Terrorism เป็นต้น ส่วนการประชุมในระดับรัฐมนตรีและเจ้าหน้าที่อาวุโสจะเป็นการประชุมเพื่อพิจารณาทั้งนโยบายในภาพรวม และนโยบายเฉพาะด้าน โดยหารือในรายละเอียดมากขึ้น

หน่วยงานที่ทำหน้าที่ประสานงานและติดตามผลการดำเนินงานของอาเซียน

  1. สำนักเลขาธิการอาเซียน หรือ ASEAN Secretariat  ที่กรุงจาการ์ตา ประเทศอินโดนีเซีย เป็นศูนย์กลางในการติดต่อระหว่างประเทศสมาชิก โดยมีเลขาธิการอาเซียน (ASEAN Secretary-General) เป็นหัวหน้าสำนักงาน ผู้ดำรงตำแหน่งคนปัจจุบันคนไทย คือ ดร. สุรินทร์ พิศสุวรรณ ซึ่งมีวาระดำรงตำแหน่ง 5 ปี (ค.ศ. 2008-2012)
  2. สำนักงานอาเซียนแห่งชาติ หรือ ASEAN National Secretariat เป็นหน่วยงานระดับกรมในกระทรวงการต่างประเทศของประเทศสมาชิกอาเซียน  มีหน้าที่ประสานกิจการอาเซียนในประเทศนั้นและติดตามผลการดำเนินงาน สำหรับประเทศไทยหน่วยงานที่รับผิดชอบ คือ กรมอาเซียน กระทรวงการต่างประเทศ










ภาพเคลื่อนไหว





วันอาทิตย์ที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2554

รายชื่อพรรคการเมือง ปี 2554




พรรคการเมืองที่ลงสมัครรับเลือกตั้ง ปี 2554

หมายเลข
ชื่อพรรค
หัวหน้าพรรค
                  สัญลักษณ์พรรค
1
พรรคเพื่อไทย



นายยงยุทธ วิชัยประดิษฐ์

2
พรรคชาติพัฒนาเพื่อแผ่นดิน

พล.อ.เชษฐา ฐานะจาโร


        
3
พรรคประชาธิปไตยใหม่ 

นายสุรทิน พิจารณ์






        
          
4
พรรคประชากรไทย

นายสุมิตร สุนทรเวช





  
5
พรรครักประเทศไทย

นายชูวิทย์ กมลวิศิษฎ์


    
6
พรรคพลังชล

รองศาสตราจารย์เชาว์ มณีวงษ์
7
พรรคประชาธรรม

นายมุคตาร์ กีละ
8
พรรคดำรงไทย
นายโชติพัฒน์ สกุลดีเชิดชู
   
9
พรรคพลังมวลชน
นายไกรภพ ครองจักรภพ
         
10
พรรคประชาธิปัตย์
นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ

  
11
พรรคไทยพอเพียง
นายจำรัส อินทุมาร
12
พรรครักษ์สันติ
พลตำรวจโทถวิล สุรเชษฐพงษ์
13
พรรคไทยเป็นสุข
นายประดิษฐ์ ศรีประชา


         
14
พรรคกิจสังคม
นายทองพูล   ดีไพร
   
15
พรรคไทยเป็นไทย
นายตรีสัลล์ จันทน์เทียนเดชา
16
พรรคภูมิใจไทย
นายชวรัตน์ ชาญวีรกูล


17
พรรคแทนคุณแผ่นดิน
นายวิชัย ศิรินคร



18
พรรคเพื่อฟ้าดิน
นางสาวขวัญดิน สิงห์คำ
19
พรรคเครือข่ายชาวนาแห่งประเทศไทย
นายโชติ บุญจริง

   
20
พรรคการเมืองใหม่
นายสมศักดิ์  โกศัยสุข
21
พรรคชาติไทยพัฒนา
นายชุมพล ศิลปอาชา



22
พรรคเสรีนิยม
นายพุทธชาติ ช่วยราม


23
พรรคชาติสามัคคี
นายนพดล ไชยฤทธิเดช

24
พรรคบำรุงเมือง
นายสุวรรณ ประมูลชัย




          
25
พรรคกสิกรไทย
 นายจำลอง  ดำสิม


26
พรรคมาตุภูมิ
พลเอกสนธิ บุญยรัตกลิน


27
พรรคชีวิตที่ดีกว่า
นางพูลถวิล ปานประเสริฐ



28
พรรคพลังสังคมไทย
นายวิวัฒน์ เลอยุกต์
29
พรรคเพื่อประชาชนไทย
นายดิเรก กลิ่นจันทร์
     
         
30
พรรคมหาชน
นายอภิรัต ศิรินาวิน
31
พรรคประชาชนชาวไทย
นายสุนทร ศรีบุญนาค
     
     
32
พรรครักแผ่นดิน
นายประทีป ประภัสสร
33
พรรคประชาสันติ
นายดลสวัสด์ ชาติเมธี
34
พรรคความหวังใหม่
นายชิงชัย   มงคลธรรม
35
พรรคอาสามาตุภูมิ
นายมนตรี เศรษฐบุตร
36
พรรคพลังคนกีฬา
นายวนัสธนา สัจจกุล 
37
พรรคพลังชาวนาไทย
นายสวัสดิ์ พบวันดี
38
พรรคไทยสร้างสรรค์
นายวิษณุภตฆ์ พีรเจริญวงส์
39

พรรคเพื่อนเกษตรไทย
นายทรงเดช สุขขำ   
   

40
พรรคมหารัฐพัฒนา
นางสาวนวลนิจ หงษ์วิวัฒน์








รายชื่อพรรค หัวหน้าพรรค และจำนวนสมาชิก


หมายเลข 1 พรรคเพื่อไทย  จำนวนผู้สมัคร 125 คน
             หัวหน้าพรรค : นายยงยุทธ วิชัยดิษฐ์
             นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร เป็น ปาร์ตี้ลิสต์ อันดับ 1
       
          หมายเลข 2 พรรคชาติพัฒนาเพื่อแผ่นดิน  จำนวนผู้สมัคร 125 คน
             หัวหน้าพรรค : นายแพทย์วรรณรัตน์  ชาญนุกูล

          หมายเลข 3 พรรคประชาธิปไตยใหม่  จำนวนผู้สมัคร 6 คน
             หัวหน้าพรรค : นายสุรทิน พิจารณ์

          หมายเลข 4 พรรคประชากรไทย  จำนวนผู้สมัคร 13 คน
             หัวหน้าพรรค : นายสุมิตร สุนทรเวช

          หมายเลข 5 พรรครักประเทศไทย  จำนวนผู้สมัคร 11 คน
             หัวหน้าพรรค : นายชูวิทย์ กมลวิศิษฎ์  

          หมายเลข 6 พรรคพลังชล  จำนวนผู้สมัคร 18 คน
             หัวหน้าพรรค : นายเชาวน์ มณีวงษ์

          หมายเลข 7 พรรคประชาธรรม  จำนวนผู้สมัคร 25 คน
             หัวหน้าพรรค : นายมุคตาร์ กีละ

          หมายเลข 8 พรรคดำรงไทย  จำนวนผู้สมัคร 13 คน
             หัวหน้าพรรค : นายโชติพัฒน์ สกุลดีเชิดชู  

          หมายเลข 9 พรรคพลังมวลชน  จำนวนผู้สมัคร 8 คน
             หัวหน้าพรรค : นายกรภพ ครองจักรภพ

          หมายเลข 10 พรรคประชาธิปัตย์  จำนวนผู้สมัคร 125 คน
             หัวหน้าพรรค : นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ

          หมายเลข 11 พรรคไทยพอเพียง  จำนวนผู้สมัคร 3 คน
             หัวหน้าพรรค : นายจำรัส อินทุมาร  

          หมายเลข 12 พรรครักษ์สันติ  จำนวนผู้สมัคร 64 คน
             หัวหน้าพรรค : พลตำรวจโท ถวิล สุรเชษฐพงษ์

          หมายเลข 13 พรรคไทยเป็นสุข  จำนวนผู้สมัคร 5 คน
             หัวหน้าพรรค : นายประดิษฐ์ ศรีประชา

          หมายเลข 14 พรรคกิจสังคม  จำนวนผู้สมัคร 125 คน
             หัวหน้าพรรค : นายทองพูล ดีไพร

          หมายเลข 15 พรรคไทยเป็นไทย  จำนวนผู้สมัคร 10 คน
             หัวหน้าพรรค : นายตรีสัลล์ จันทน์เทียนเดชา  

          หมายเลข 16 พรรคภูมิใจไทย  จำนวนผู้สมัคร 125 คน
             หัวหน้าพรรค : นายชวรัตน์ ชาญวีรกูล

          หมายเลข 17 พรรคแทนคุณแผ่นดิน  จำนวนผู้สมัคร 32 คน
             หัวหน้าพรรค : นายวิชัย ศิรินคร  

          หมายเลข 18 พรรคเพื่อฟ้าดิน  จำนวนผู้สมัคร 1 คน
             หัวหน้าพรรค : นางสาวขวัญดิน สิงห์คำ  

          หมายเลข 19 พรรคเครือข่ายชาวนาแห่งประเทศไทย  จำนวนผู้สมัคร 30 คน
             หัวหน้าพรรค : นายโชติ บุญจริง

          หมายเลข 20 พรรคการเมืองใหม่  จำนวนผู้สมัคร 24 คน
             หัวหน้าพรรค : นายสมศักดิ์  โกศัยสุข

          หมายเลข 21 พรรคชาติไทยพัฒนา  จำนวนผู้สมัคร 125 คน
             หัวหน้าพรรค : นายชุมพล ศิลปอาชา

          หมายเลข 22 พรรคเสรีนิยม  จำนวนผู้สมัคร 8 คน
             หัวหน้าพรรค : นายพุทธชาติ ช่วยราม  

          หมายเลข 23 พรรคชาติสามัคคี  จำนวนผู้สมัคร 9 คน
             หัวหน้าพรรค : นายนพดล ไชยฤทธิเดช

          หมายเลข 24 พรรคบำรุงเมือง  จำนวนผู้สมัคร 14 คน
             หัวหน้าพรรค : นายสุวรรณ ประมูลชัย

          หมายเลข 25 พรรคกสิกรไทย  จำนวนผู้สมัคร 2 คน
             หัวหน้าพรรค : นายจำลอง  ดำสิม

          หมายเลข 26 พรรคมาตุภูมิ  จำนวนผู้สมัคร 40 คน
             หัวหน้าพรรค : พลเอก สนธิ บุญยรัตกลิน

          หมายเลข 27 พรรคชีวิตที่ดีกว่า  จำนวนผู้สมัคร 4 คน
             รักษาการแทนหัวหน้าพรรค : นางพูลถวิล ปานประเสริฐ

          หมายเลข 28 พรรคพลังสังคมไทย  จำนวนผู้สมัคร 5 คน
             หัวหน้าพรรค : นายวิวัฒน์ เลอยุกต์

          หมายเลข 29 พรรคเพื่อประชาชนไทย  จำนวนผู้สมัคร 4 คน
             หัวหน้าพรรค : นายดิเรก กลิ่นจันทร์

          หมายเลข 30 พรรคมหาชน  จำนวนผู้สมัคร 6 คน
             หัวหน้าพรรค : นายอภิรัต ศิรินาวิน  

          หมายเลข 31 พรรคประชาชนชาวไทย  จำนวนผู้สมัคร 5 คน
             หัวหน้าพรรค : นายสุนทร ศรีบุญนาค

          หมายเลข 32 พรรครักแผ่นดิน  จำนวนผู้สมัคร 1 คน
             หัวหน้าพรรค : นายประทีป ประภัสสร

          หมายเลข 33 พรรคประชาสันติ  จำนวนผู้สมัคร 34 คน
             รักษาการแทนหัวหน้าพรรค : นายดลสวัสด์ ชาติเมธี

          หมายเลข 34 พรรคความหวังใหม่  จำนวนผู้สมัคร 125 คน
             หัวหน้าพรรค : นายชิงชัย มงคลธรรม

          หมายเลข 35 พรรคอาสามาตุภูมิ  จำนวนผู้สมัคร 3 คน
             หัวหน้าพรรค : นายมนตรี เศรษฐบุตร

          หมายเลข 36 พรรคพลังคนกีฬา  จำนวนผู้สมัคร 103 คน
             หัวหน้าพรรค : นายวนัสธนา สัจจกุล หรือ บิ๊กหอย

          หมายเลข 37 พรรคพลังชาวนาไทย  จำนวนผู้สมัคร 5 คน
             หัวหน้าพรรค : นายสวัสดิ์ พบวันดี

          หมายเลข 38 พรรคไทยสร้างสรรค์  จำนวนผู้สมัคร 4 คน
             รักษาการแทนหัวหน้าพรรค : นายวิษณุภตฆ์ พีรเจริญวงส์

          หมายเลข 39 พรรคเพื่อนเกษตรไทย  จำนวนผู้สมัคร 23 คน
             รักษาการแทนหัวหน้าพรรค : นายทรงเดช สุขขำ  
          หมายเลข 40 พรรคมหารัฐพัฒนา  จำนวนผู้สมัคร 2 คน
             หัวหน้าพรรค : นางสาวนวลนิจ หงษ์วิวัฒน์